พระราชบัญญัติ ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๗ สุนัข หมา แมว ไม่ถูกทารุณกรรม ทอดทิ้ง

กฎหมาย พรบ คุ้มครองสัตว์ห้ามทำร้ายทุบตีฆ่าหมาแมว
กฎหมาย พรบ คุ้มครองสัตว์ห้ามทำร้ายทุบตีฆ่าหมาแมว
กฎหมายคุ้มครองสัตว์ สุนัขหมาแมว ทำร้าย ทุบตี กิน
กฎหมายคุ้มครองสัตว์ สุนัขหมาแมว ทำร้าย ทุบตี กิน
ไทยหลังอานสายตราด ที่ตั้ง แม่สายเชียงราย
ไทยหลังอานสายตราด ที่ตั้ง แม่สายเชียงราย

ร้อยตำรวจเอกพันธ์ศักดิ์ ขันทะสอน

นิติศาสตร์บัณฑิต

 เนติบัณฑิตไทย สมัย ๕๘

 เจ้าของ www.สุนัขไทยหลังอาน.com

อธิบาย

พระราชบัญญัติ   ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์  พ.ศ. ๒๕๕๗

สวัสดีครับ ผม ร.ต.อ.พันธ์ศักดิ์  วันนี้ขอนำเสนอ  มุมมองทางกฎหมาย  พระราชบัญญัติ   ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์  พ.ศ. ๒๕๕๗

กฎหมายฉบับนี้ วัตถุประสงค์หลัก คือการ คุ้มครอง หมา และแมว  เป็นหลัก เพราะเป็นสัตว์ที่คนในสังคมรักและผูกพันเป็นที่สุด  บางครอบครัวนำมาเลี้ยงแทนบุตร ก็มี

กฎหมายฉบับนี้ เป็นประโยชน์ต่อหมา แมว เป็นอย่างมี  ต่อไปนี้ หากผู้ใดพบเห็นการทารุณสัตว์  พบสัตว์เร่ร่อน  สัตว์ถูกทอดทิ้ง   หมา แมว จรจัด   ก็สามารถช่วยเหลือ  โดยแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ  เจ้าหน้าที่ของรัฐที่จัดตั้งเพื่อสงเคราะห์สัตว์ได้

หากใครพบว่า    ผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมาย   โดยทารุณสัตว์  ทุบตี  ฆ่า  ทอดทิ้ง  หมา  แมว  ก็แจ้งตำรวจได้เลย   ก็มีโทษจำคุกเลยทีเดียว  นะครับ

ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่สามารถปฎิเสธหน้าที่ช่วยเหลือสัตว์ได้  เพราะกฎหมายบังคับให้ป้องกัน คุ้มครองสัตว์  จัดสวัสดิภาพสัตว์  อย่างชัดแจ้งแล้ว  เจ้าหน้าที่ไม่ช่วยเหลือ  ให้อ้างอิงกฎหมาย  ฉบับนี้ได้เลยนะครับ  ทุกคนต้องยอมตาม  ไม่ยอมทำก็มีความผิด ฐานละเว้นการปฎิบัติหน้าที่

 

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ

เนื่องจากสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึกและ เป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งแวดล้อม จึงควรได้รับการคุ้มครองมิให้ถูกกระทำการทารุณกรรม และเจ้าของสัตว์

ซึ่งนำสัตว์มาเลี้ยงจะต้องจัดสวัสดิภาพให้เหมาะสมตามประเภทและชนิดของสัตว์ ทั้งในระหว่างการเลี้ยงดู

การขนส่ง การนำสัตว์ไปใช้งาน หรือใช้ในการแสดง ดังนั้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการป้องกันการทารุณกรรม

และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อให้สัตว์ได้รับการคุ้มครองตามธรรมชาติของสัตว์อย่างเหมาะสม จึงจำเป็น

ต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

พระราชบัญญัติ   ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์  พ.ศ. ๒๕๕๗

ประเด็น

คำว่า  ป้องกัน  หมายถึง  การสร้างหลักประกันแก่สังคมว่า  ต่อไปนี้  เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเข้ามาดูแลสัตว์  อย่างเป็นระบบ  หากพบการทารุณสัตว์  สามารถร้องเรียน  ร้องทุกข์  แจ้งความต่อตำรวจได้  ตำรวจจะเข้าไปดำเนินการ  และ  ใช้วิธีการทางกฎหมายอาญาได้

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

“สัตว์” หมายความว่า สัตว์ที่โดยปกติเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์บ้าน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน สัตว์เลี้ยง

เพื่อใช้เป็นพาหนะ สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดง

หรือสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการอื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีเจ้าของหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึงสัตว์ที่อาศัย

อยู่ในธรรมชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

 

ประเด็น

หมา แมว  เป็น สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน  และ  กล่าวได้ว่า  กฎหมายฉบับนี้ สร้างขึ้นมาเพื่อคุ้มครองหมาและแมวมากที่สุด (ยิ่งกว่า วัว ควาย กระต่าย ฯลฯ)

“การทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรืองดเว้นการกระทำใด ๆ ที่ทำให้สัตว์ได้รับ

ความทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผล

ทำให้สัตว์นั้นตาย และให้หมายความรวมถึงการใช้สัตว์พิการ สัตว์เจ็บป่วย สัตว์ชราหรือสัตว์ที่กำลังตั้งท้อง

เพื่อแสวงหาประโยชน์ ใช้สัตว์ประกอบกามกิจ ใช้สัตว์ทำงานจนเกินสมควรหรือใช้ให้ทำงานอันไม่สมควร

เพราะเหตุที่สัตว์นั้นเจ็บป่วย ชราหรืออ่อนอายุ

 

ตัวอย่าง   ใช้ไม้ตีหมา  แมว  เป็นการทำให้  ได้รับความเจ็บปวด  เป็น   “การทารุณกรรม”

แต่  การนำหมาไป  นั่งขอทาน  แสดงโชว์  การพาช้างเดินเร่ขออาหารตามถนน  ยังไม่ถึงขั้นเป็น “การทารุณกรรม” แต่ถ้าทำให้เจ็บปวด ทุบตีบังคับ  หรือ ใช้งานสัตว์ป่วย   ก็เป็นทารุณกรรม 

ต้องดูเป็นกรณี ๆไป

 

 

“การจัดสวัสดิภาพสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงหรือการดูแลให้สัตว์มีความเป็นอยู่ในสภาวะ

ที่เหมาะสม มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีที่อยู่ อาหาร และน้ำอย่างเพียงพอ

“เจ้าของสัตว์” หมายความว่า เจ้าของกรรมสิทธิ์ และให้หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์

หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแล ไม่ว่าจะได้รับมอบหมายจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจาก

เจ้าของกรรมสิทธิ์ให้ดูแลด้วย

“องค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์” หมายความว่า คณะบุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็น

องค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์ตามพระราชบัญญัตินี้

“สถานสงเคราะห์สัตว์” หมายความว่า สถานที่สำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ หรือสถานที่สำหรับใช้

ในการให้ความช่วยเหลือหรืออภิบาลสัตว์ที่ถูกทอดทิ้ง สัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ หรือสัตว์ที่ถูกกระทำการทารุณกรรม

มาตรา ๒๐ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร

ตัวอย่าง 

นาย แดง  เห็นหมาเดินผ่านมา   เกิดความคึกคะนองอยากสนุก  จึงใช้ไม้ตีหมา  หมาได้รับความเจ็บปวด   ดังนี้    นายแดง ฝ่าฝืนมาตรา ๒๐  ผิดข้อหา  กระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร  

แต่ถ้า  หมามีอาการบ้าคลั่ง  แว้งกัดคนในบริเวณนั้น  และ กำลังวิ่งเข้ามาจะกัดนายแดง  นายแดงใช้ไม้ตีหมา  นายแดง  ไม่มีความผิด  แม้จะทำให้หมาเจ็บปวด  เป็นการทารุณกรรม  แต่ว่า  กระทำโดยมีเหตุอันสมควร   ทั้ง มาตรา ๒๐(๖) ยังไม่เอาผิดคนที่ทำการป้องกันตัว อีกด้วย  จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ 

 

มาตรา ๒๑ การกระทำดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา ๒๐

(๑) การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้ เฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร

ประเด็น

คำว่า  สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร  พ.ร.บ.นี้  ไม่บัญญัติความหมายไว้  และไม่บัญญัติไปตรงๆเลยว่า  หมา  และ แมว คือ สัตว์ที่เลี้ยงไว้เป็นเพื่อน  ถ้าบัญญัติไว้ตรงๆ  อุตสาหกรรมฆ่าหมา  แมวเพื่อกิน  ในประเทศไทย   ย่อมหมดไป  (แต่จะลักลอบทำผิดแบบใต้ดิน  ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง  ซึ่งต้องปราบปรามต่อไป )  

 ประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างมากคือ  จังหวัดแห่งหนึ่ง  ฆ่าหมา  เพื่อทานหมาเป็นอาหาร  ฆ่าอยู่เป็นประจำทำกันมานานแล้ว กินหมาเป็นประเพณี   ต่อไปนี้  มีกฎหมายนี้แล้ว   ฆ่าหมาเพื่อกินอีก  จะเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ ข้อหาทารุณ ฯ   และ  ไม่ได้รับการยกเว้นความผิดตามมาตรา ๒๑ (๑) หรือไม่  อย่างไร

ผู้เขียนเห็นว่า  หมา  เป็น  สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน  และเป็นสิ่งที่สังคมส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกัน  ไม่ใช่   สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร  แม้จะมีคนบางกลุ่มมองว่า  เป็นอาหารไม่ต่างจากหมู  ไก่  ปลา  ก็ตาม    

ดังนั้น  การนำหมา  หรือ แมว  มาฆ่าเพื่อกิน  ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา ๒๐ ข้อหา  ทารุณ ฯ  และ  อ้างมาตรา ๒๑ (๑) อ้างว่า  สัตว์เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร  ปฎิเสธความผิดไม่ได้ 

และ  ไม่ว่า  หมา  แมวเหล่านั้น  จะเป็นสัตว์จรจัด    สัตว์ไม่มีเจ้าของ  สัตว์ที่เจ้าของยินยอมขายให้นำไปฆ่าเป็นอาหาร ก็ล้วนแต่ฆ่ากินไม่ได้ทั้งสิ้น  เพราะกฎหมายคุ้มครองหมา แมวทุกตัวในประเทศไทย  ไม่ว่าหมา  แมว  จะมีสภาพอย่างไร  ซึ่งหากเป็นหมาที่ลักมา  ก็ผิดข้อหา ลักทรัพย์ อีกด้วย

ทั้งนี้  มาตรา ๘๔  ประมวลกฎหมายอาญา  ยังเอาความผิดกับผู้ที่ใช้ให้ฆ่าหมา แมวเพื่อกิน  อีกด้วย  เช่น  จ้างวานใช้ให้คนอื่นทำ  ต้องรับผิดเท่ากับคนที่ลงมือทำ

มาตรา ๘๓ ประมวลกฎหมายอาญา  เอาผิดตัวการทุกคนที่ร่วมกันทารุณสัตว์ เช่น  นายแดง  กับ  นายขาว  ช่วยกันทุบตีหมาจรจัดเพื่อความสนุกสนาน  กฎหมายเอาผิดทั้งสองคน

มาตรา ๘๖ ประมวลกฎหมายอาญา  เอาผิดผู้สนับสนุนให้ทารุณสัตว์  เช่น  นายแดงให้นายขาว  ยืมมีด   เพราะเห็นว่า  นายขาวกำลังจะฆ่าหมาเพื่อกิน   แม้นายแดงไม่ได้ฆ่า  และ  ไม่ได้อยู่ด้วยขณะที่นายขาวฆ่าหมา    นายแดงก็มีความผิด ฐานสนับสนุนเพราะได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้คนทำทำผิด

 ดังนั้น  ถ้ามีคนคึกคะนอง  ทุบตีหมา  แมวเพื่อความสนุกสนาน  ผู้อยู่ด้วย  ร่วมรู้เห็นเป็นใจ  อาจจะ  “เข้าข่าย”  ร่วมกันทำร้ายทารุณสัตว์ได้  

 

มาตรา ๒๑ การกระทำดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา ๒๐

(๒) การฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์

(๓) การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์

(๔) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็นว่าสัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บและไม่สามารถเยียวยา

หรือรักษาให้มีชีวิตอยู่รอดได้โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน

(๕) การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา

(๖) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์

หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน

(๗) การกระทำใด ๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์

โดยผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์หรือผู้ซึ่งได้รับยกเว้นให้กระทำได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับ

ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภาตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์

(๘) การตัด หู หาง ขน เขา หรืองาโดยมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์

หรือการดำรงชีวิตของสัตว์

(๙) การจัดให้มีการต่อสู้ของสัตว์ตามประเพณีท้องถิ่น

(๑๐) การกระทำอื่นใดที่มีกฎหมายกำหนดให้สามารถกระทำได้เป็นการเฉพาะ

(๑๑) การกระทำอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

มาตรา ๒๒ เจ้าของสัตว์ต้องดำเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ของตนให้เหมาะสม

ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

การออกประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงประเภท ชนิด ลักษณะ สภาพ และอายุของสัตว์

มาตรา ๒๓ ห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้ง หรือกระทำการใด ๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแล

ของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร

การกระทำตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองให้แก่ผู้ซึ่งประสงค์

จะนำสัตว์ไปดูแลแทน

ตัวอย่าง  นายแดง จะย้ายบ้าน  แต่ไม่อยากพาหมาไปด้วย  จึงเอาหมาไปปล่อยที่วัด  เป็นการฝ่าฝืน  มาตรา ๒๓ ผิดข้อหา  เป็นเจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้ง หรือกระทำการใด ๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร

ถ้า นายขาว  เดินผ่านมาเห็นนายแดง  ทอดทิ้งหมาพอดี  ก็แจ้งความให้ตำรวจมาดำเนินคดีแก่นายแดงได้

โทษ คือ ปรับเงินไม่เกิน 40,000 บาท ตาม มาตรา  32

 

 

มาตรา ๒๔ การขนส่งสัตว์ หรือการนำสัตว์ไปใช้งานหรือใช้ในการแสดง เจ้าของสัตว์หรือผู้มี

ส่วนเกี่ยวข้องต้องจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้เหมาะสม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรี

ประกาศกำหนด

การออกประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงประเภท ชนิด ลักษณะ สภาพ และอายุของสัตว์

 

มาตรา ๒๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่

ดังต่อไปนี้

(๑) มีหนังสือเรียกเจ้าของสัตว์ ผู้แทนองค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์ ผู้ดูแลสถานสงเคราะห์สัตว์

หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณา

ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

(๒) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ เพื่อดำเนินการตรวจสอบ เมื่อได้รับแจ้งหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า

มีการทารุณกรรมสัตว์ตามพระราชบัญญัตินี้

(๓) สั่งให้หยุดซึ่งยานพาหนะเพื่อดำเนินการตรวจสอบ เมื่อได้รับแจ้งหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า

มีการทารุณกรรมสัตว์ตามพระราชบัญญัตินี้

(๔) ยึดหรืออายัดสัตว์หรือซากของสัตว์ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าถูกฆ่าหรือถูกทารุณกรรม

รวมทั้งเอกสาร หลักฐาน ยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด

ตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี

(๕) นำสัตว์ที่ถูกทารุณกรรมไปตรวจรักษาหรือช่วยเหลือสัตว์ที่ตกอยู่ในภยันตราย ในกรณี

ที่ปรากฏว่าสัตว์นั้นไม่มีผู้ใดให้การรักษาหรือช่วยเหลือ

การเข้าไปในสถานที่ตาม (๒) เพื่อทำการตรวจค้นต้องมีหมายค้น เว้นแต่มีเหตุอันควรเชื่อว่า

หากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ จะมีการยักย้าย ซุกซ่อน หรือทำลายหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับ

การกระทำความผิด ให้ดำเนินการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมาย

วิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการค้น

มาตรา ๒๖ ในกรณีที่พบสัตว์ถูกปล่อย ละทิ้ง หรือไม่มีเจ้าของ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่

ดำเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ตามความเหมาะสม

มาตรา ๒๗ ในกรณีที่พบสัตว์ตกอยู่ในสภาพที่ทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บสาหัส

และสัตวแพทย์เห็นว่าการให้สัตว์มีชีวิตอยู่ต่อไปจะได้รับความทุกข์ทรมานจนเกินสมควรให้พนักงานเจ้าหน้าที่

มีอำนาจสั่งให้ฆ่าสัตว์นั้นได้

การฆ่าสัตว์ตามวรรคหนึ่ง จะต้องดำเนินการโดยสัตวแพทย์ และในกรณีที่สัตว์นั้นมีเจ้าของ

ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของสัตว์

มาตรา ๒๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๕ ให้เจ้าของสัตว์หรือ

ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควร

มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดง

บัตรประจำตัวต่อเจ้าของสัตว์หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง

บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงาน

ตามประมวลกฎหมายอาญา

ตัวอย่าง   นายขาว  เห็น  นายแดง  เอาไม้ตีหมา กลั่นแกล้งให้หมาเจ็บปวดเพื่อความสนุกสนาน    เป็นทารุณกรรม    นายขาวสามารถแจ้งตำรวจได้ทันที ซึ่งจะเดินทางไปแจ้งที่สถานีตำรวจ  แจ้งตำรวจที่ผ่านมาพอดี หรือ โทรศัพท์แจ้ง (โทร  191   )   ก็ได้  จากนั้น  ตำรวจก็จะมาตรวจสอบจุดที่รับแจ้งว่ามีคนทำผิด     ถ้าตำรวจมาถึงและเห็นนายแดงยังตีหมาอยู่  ก็สามารถจับกุมได้ทันที เพราะ ทำผิดซึ่งหน้าตำรวจ      ถ้ามาเจอตอนที่ไม่ได้ตีหมาแล้ว  ก็จะสอบสวนตัวนายแดง   ว่าทำผิดจริงหรือไม่    ตำรวจจะมีการตรวจสอบวีดีโอวงจรปิดว่าทำจริงหรือไม่  และสอบถามนายขาวว่ายืนยันว่า เห็นเหตุการณ์จริงหรือไม่  

ถ้าหลักฐานยืนยัน มัดตัว  ว่า  นายแดงผิดจริง   นายแดงก็ต้องถูกดำเนินคดีอาญา   จากนั้นก็ขึ้นศาล  เพื่อให้ศาลพิพากษาลงโทษต่อไป  (จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท)

 

 

มาตรา ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประเด็น

มาตรา ๒๐ ก็คือ ข้อหา  ทารุณสัตว์ ฯ  นั่นเอง  

 

มาตรา ๓๒ เจ้าของสัตว์หรือผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรี

ประกาศกำหนดตามมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๔ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท

 

มาตรา 23  ก็ คือ ทอดทิ้งสัตว์  นั่นเอง

 

มาตรา ๓๓ ในกรณีที่ศาลได้พิพากษาลงโทษผู้ใดตามมาตรา ๓๑ หรือมาตรา ๓๒ หากศาล

เห็นว่าการให้สัตว์นั้นยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าของหรือของผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป สัตว์นั้น

อาจจะถูกทารุณกรรมหรือได้รับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่ไม่เหมาะสมอีก ศาลอาจสั่งห้ามมิให้เจ้าของหรือ

ผู้กระทำความผิดนั้นครอบครองสัตว์ดังกล่าว และมอบให้หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่เห็นสมควรเป็นผู้ครอบครอง

หรือดูแลสัตว์นั้นต่อไป

มาตรา ๓๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี

พระราชบัญญัติ   ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์  พ.ศ. ๒๕๕๗
พระราชบัญญัติ ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๗

 

อ้างอิง พ.รบ.  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/087/4.PDF